วันศุกร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2555

Ukulele

สำหรับคนที่รักอูคูเลเล่มากๆนะครับก็มาดูประวัติของไอ้เจ้าตัวนี้กันก่อนเลยนะครับ

ต้นกำเนิดและประวัติของมัน
Ukuleleเป็นเครื่องดนตรีชนิดหนึ่งที่เป็นเครื่องดนตรีพื้นเมืองของชาวฮาวายเฮี้ยนค่ะ ซึ่งแน่นอนอยู่แล้วว่าไม่ใช่ เครื่องดนตรีสมัยใหม่แน่ๆ “Ukulele”เป็นเครื่องดนตรีที่มีมาตั้งแต่สมัยศตวรรษที่ 19 แล้ว โดยมีต้นกำเนิดจากการที่ชาวพื้นเมือง ในฮาวาย ที่ใช้วิชาครูพักลักจำ ประดิษฐ์เครื่องดนตรีเลียนแบบเครื่องดนตรีคล้ายกีตาร์ นามว่า “Cavaquinho”  เป็นภาษาโปรตุเกส ซึ่งชาวโปรตุเกสขนมาเล่นให้ชาวฮาวายได้ฟังกันค่ะ ต้องขอบคุณชาวโปรตุเกส ที่อุตส่าห์หอบเอาเจ้าเครื่องดนตรีนี้  ข้ามน้ำข้ามทะเลมา ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้น ที่ทำให้ชาวฮาวายเฮี้ยนนำเอาเครื่องดนตรีชนิดนี้มาประยุกต์ จนมีชื่อเสียงไปทั่วโลกในปัจจุบันนี้ค่ะ

“Ukulele” นั้น ชาวเกาะเรียกกันห้วนๆ ว่า  “หมัดกระโดด” ซึ่งน่าจะมาจากลักษณะของนิ้วผู้เล่น ที่ต้องสลับที่กดเด้งไปมาบนคอ “Ukulele” ที่ดูแบบมีศิลปะ  และคล้ายกับตัวหมัดกำลังกระโดดไปมาบนทุ่งหญ้า ส่วนอีกศาสตร์กล่าวว่า “Ukulele” เป็นภาษาฮาวายเอี้ยน ความหมายของคำว่า “Ukulele” ถูกแยกเป็นสองคำคือ “uku” ซึ่งแปลว่า “ของขวัญหรือรางวัล” ส่วนคำว่า “lele” แปลว่า “การได้มา” ดังนั้นเมื่อนำสองคำนี้มารวมกัน จึงแปลความหมายได้ว่า “ของขวัญที่ได้มา” (จากชาวโปรตุเกส)   ส่วนการออกเสียงนั้น หากออกเสียงเรียกแบบคนอเมริกัน เขาเรียกว่า “ยู คะ เล ลี่” ชาวฮาวายเอี้ยน เรียกมันว่า “อู คู เล่ เล่” ส่วนนักดนตรีสมัยใหม่ขี้เกียจพูดยาว ตั้งชื่อเล่นให้มันสั้นๆ ว่า “อู๊ค”  ไม่ว่าจะเรียกอย่างไรก็ตาม ล้วนเป็นเครื่องดนตรีชิ้นเดียวกันหมด


นอกจากจะมีหลายชื่อแล้วเจ้า “Ukulele” ก็มีหลายขนาดเหมือนกันค่ะ ขนาดของมันเริ่มตั้งแต่ soprano ซึ่งเป็นขนาดดั้งเดิม ที่เหมาะสำหรับใช้เล่นตีคอร์ดสนุกสนานค่ะ ตามด้วย concert ที่คอยาวขึ้นเพื่อใช้เล่นแบบ fingerstyle ต่อด้วย tenor ที่ขนาดใหญ่ขึ้นมาอีกขั้น พร้อมเฟร็ตที่มากขึ้น และเสียงที่ทุ้มกังวาลกว่า ปิดท้ายด้วย baritone ที่ใหญ่ที่สุด และตั้งเสียงไม่เหมือนขนาดอื่นค่ะ (ตั้งเสียงแบบสี่สายล่างของกีตาร์ปกติ)

ในช่วงแรกนั้น “Ukulele” เป็นเครื่องดนตรีที่ใช้สำหรับบรรเลงเพลงฮาวายเอี้ยนขับกล่อมชาวเกาะให้ครื้น เครง โดยมีพระราชาชาวเกาะ King David Kalakaua เป็นผู้สนับสนุนใหญ่ จนใครๆ ในเกาะก็พากันเล่นเจ้าเครื่องดนตรีชนิดนนี้กันคะ  จากนั้นตั้งแต่ช่วงก่อนสงครามโลก ครั้งที่สอง “Ukulele” ก็เริ่มมีคนรู้จักมากขึ้น และเนื่องจากขนาดอันกะทัดรัดและราคาที่ไม่แพง มันเปลี่ยนสถานะจากเครื่องดนตรีพื้นเมืองกลายเป็นเครื่องดนตรีสากล มีนักดนตรีจาก แผ่นดินใหญ่อเมริกานำมาเล่นกันหลากหลายแนวค่ะ ไม่เว้นแม้แต่ศิลปิน Jazz ความโดดเด่นในวงการเพลงของมันมาถึงจุดสุดยอดในช่วงยุค 60″s ก่อนที่ความนิยมจะเริ่มซาหายไปตามกาลเวลา จนเมื่อช่วงปลายยุค 90″s นี้เอง ที่ “Ukulele” กลับมาเป็นที่นิยมอีกครั้งค่ะ เมื่อ Jake Shimabukuro มือ Ukulele หนุ่มน้อยเชื้อสายญี่ปุ่น-ฮาวาย นำมันมาบรรเลงเพลงร่วมสมัยด้วย ลีลามากลวดลายน่าทึ่ง จนได้รับสมญานามว่าเป็น อัจฉริยะUkulele  และศิลปิน Israel Kamakawiwo’ole (IZ)  นักดนตรีจากเกาะฮาวาย ด้วยเอกลักษณ์ตัวอ้วนใหญ่คล้ายกับยักษ์ แต่เลือกที่จะเล่น Ukulele ตัวจิ๋วเป็นเครื่องดนตรีคู่กาย IZ จึงได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก กระแส IZ จึงเกิดมาพร้อมกับ Ukulele เพลงของ IZ ยังถูกไปใช้เป็นเพลงประกอบหนังอยู่เป็นระยะๆ IZ ได้ร้องและเล่นบทเพลง “Over the Rainbow/What a Wonderful World” ซึ่งทำให้ผู้คนเริ่มหลงเสน่ห์ในเสียงของ ukulele เข้าอย่างจัง






รูปจร้า รูปอูคูเลเล่สวยๆ






















สำหรับใครที่ยังเลือกซื้ออูคูเลเล่หรืออยากมีไว้สั้กกะตัว เรามีวิธีเลือกซื้อนะครับ มาดูกันเล้ย



1 ) ตัว body มีผลต่อคุณภาพเสียงมากที่สุด เสียงจะเพราะน้อย เพราะมาก ก็อยู่ที่วัสดุที่นำมาประกอบเป็นตัว body โดยหลักๆ เลยจะมีอยู่ 2 อย่าง คือไม้จริง (Solid wood) กับ ไม้อัด (Laminated wood) โดยไม้จริง จะให้คุณภาพเสียงที่ดีกว่า แต่ราคาก็สูงขึ้นไปด้วยเช่นกัน ส่วนไม้อัด ก็ให้เสียงที่ดีในระดับหนึ่ง เหมาะสมกับราคาที่ถูกกว่าไม้จริง ตามงบประมาณ ก็สามารถหาซื้อ รุ่นที่ทำด้วย ไม้อัด Laminated ได้ไม่ยาก ซึ่งถ้าจะให้เสียงดีก็ต้องเริ่มจากไม้อัด Mahogany ขึ้นไป ข้อดีคือ ราคาเหมาะสมสำหรับผู้เริ่มต้น

2) สายก็มีผลกับเสียงอย่างมากเช่นกัน ถ้าจะให้เสียงดีจริงๆ ก็ต้องใช้สายที่มีคุณภาพ ซึ่งจะทำให้ได้เสียงที่ใส และกังวาล เช่น สาย Aquila ทีเป็นสายไนล่อนผสมไส้แกะ โดยจะเป็นสายสีขาว เสียงจะใสเล่นแล้วจะทำให้เราหลงรักการเล่นอูคูเลเล่ เข้าไปอีก แต่ถ้าเป็นสายไนล่อนสีดำที่ติดมาจากโรงงาน ในอูคูเลเล่ระดับล่างลงไป จะให้เสียงทึบๆ และถ้าเล่นไปนานๆจะทำให้เจ็บนิ้ว แล้วจะพาลเบื่อที่จะเล่นอูคูเลเล่ไปซะเลยก็ได้
ซึ่งรายละเอียดลึกๆ ในการเลือกซื้อ ก็ต้องดูกันตามรายละเอียดตั้งแต่ วัสดุ คุณภาพของส่วนประกอบต่างๆ และรายละเอียดของการตกแต่ง

ว่ากันด้วยเรื่องของวัสดุ คุณภาพของส่วนประกอบต่างๆ และรายละเอียดของการตกแต่ง

วัสดุ
1. ไม้ที่ตัว Body
- Laminated ไม้อัด ถ้าเป็นสินค้าราคาถูกๆ ก็จะทำจากไม้อัดเกรดต่ำเช่น Sapale, Maple, Nato แต่ถ้าเป็นเกรดดีหน่อยก็จะใช้ Mahogany เป็นหลักครับ เพราะจะให้เสียงที่นุ่มไพเราะ

- Solid ไม้จริง จะให้เสียงที่ไพเราะ และมีเอกลักษณ์ของเสียงตามประเภทของไม้ เช่น ไม้ Mahogany จะให้เสียงนุ่มๆ, ไม้ Spruce จะให้เสียงแบบพุ่งๆ คือดังก้องกังวาลมากขึ้น ฯลฯ แต่ก็จะทำให้ราคาขยับตัวสูงขึ้น ตามคุณภาพ และความหายากง่ายของไม้ประเภทต่างๆ เช่น ไม้ Koa จะมีราคาแพงที่สุดเพราะเป็นไม้ที่มีเฉพาะในฮาวาย และเป็นไม้หายาก เป็นต้น

นอกจากนี้ สำหรับไม้จริง Solid ที่นำมาทำเป็นเครื่องดนตรี จะต้องมีการเลื่อยแบบ Quarter Sawn เท่านั้น เพื่อให้ วงปี(เส้นวงกลมที่เราเห็นในรูปด้านล่างตามหน้าตัดของต้นไม้) ของไม้ตั้งฉากกับแนวระนาบด้านบนของไม้ให้มากที่สุด (ตามภาพแผ่นไม้ตรงกลางของภาพด้านล่าง) เพราะจะส่งผลต่อความคงทนของไม้ ซึ่งจะทำให้ไม้ไม่หด บิดงอ หรือเสียรูปง่าย ซึ่งในการเลื่อยวิธีนี้ จะได้ไม้ที่มีคุณสมบัติทางกายภาพที่คงทนที่สุด แต่ก็มีส่วนที่สูญเสียไปเยอะ จึงเป็นอีกเหตุผลที่ทำให้ ไม้ Solid เกรดสำหรับเครื่องดนตรี มีราคาสูงกว่าไม้ทั่วไป ที่ใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ เพราะไม้ที่เลื่อยทำเฟอร์นิเจอร์ทั่วโลก โดยเฉพาะในประเทศไทย จะเลื่อยกันแบบ plain sawn (Regular Sawn) กันทั้งหมด ดังนั้น ถ้าเลือกซื้อ อูคูเลเล่ไม้จริง ก็ต้องระวังในจุดนี้ไว้ด้วยครับ ไม่งั้น เล่นๆ ไปซักพัก อูคูเลเล่ ของเราอาจจะ โค้งเป็นกะละมัง หรือไม้ปริแตกได้ครับ :-)

2. สาย
- ไนล่อน มีลักษณะเป็นสายสีดำ สินค้าราคาถูกๆ จะใช้สาย ไนล่อนเป็นหลัก เพราะจะมีราคาถูกสุด แต่ก็จะให้เสียงที่ทึบๆ ไม่ใสกังวาล เพราะการสั่นสะเทือนของสายจะน้อย จึงทำให้เมื่อดีดแล้ว สายจะสั่นและให้เสียงแค่ช่วงสั้นๆ ซึ่งก็จะมีหลากหลายคุณภาพ ตามแต่ผู้ผลิตแต่ละราย ในสหรัฐส่วนมากจะใช้สาย GHS กัน แต่ถ้าเป็นที่อื่นๆ ก็จะใช้สายที่เกรดต่ำกว่าลงไปอีก

- ไนล่อนพันทับด้วยไส้แกะแล้วนำมาขัดให้เรียบ มีลักษณะเป็นสายสีขาว เป็นเทคโนโลยีใหม่ ที่พัฒนาโดยผู้ผลิตสาย ในประเทศอิตาลี โดยนำสายไนล่อนเกรดคุณภาพสูงมาต่อยอดด้วยการนำไส้แกะแท้ๆ ตามฉบับดั้งเดิมของอูคูเลเล่ มาพันทับกับสายไนล่อน แล้วนำไปขัดให้เรียบ ซึ่งทำให้การสั่นสะเทือนของสายนานกว่า ซึ่งทำให้ได้เสียงที่ใส และก้องกังวาล ซึ่งผู้ผลิตอูคูเลเล่เกรดระดับกลางขึ้นไป จะใช้สายชนิดนี้เป็นหลัก ซึงก็คือสาย Aquila นั่นเอง

3. ไม้ที่ส่วน fingerboard และ bridge
- Maple สินค้าราคาถูกจะใช้ไม้ Maple ในส่วนนี้ ซึ่งมีราคาถูก แต่ก็จะสึกหรอได้ง่ายกว่า เนื่องจากคุณสมบัติของไม้ จะไม่ค่อยมีความแข็งแรง

- Rosewood มีคุณสมบัติทีแข็งแรง และทนต่อการสึกหรอได้สูง อูคูเลเล่เกรดระดับกลางขึ้นไป จึงนิยมนำมาใช้เป็นส่วนประกอบที่ fingerboard และ bridge เพราะจะมีอายุการใช้งานที่นาน

คุณภาพของส่วนประกอบต่างๆ
1.ลูกบิด
- Friction เป็นแบบดั้งเดิม แต่ก็มีคุณภาพหลากหลายเกรด หากเป็นสินค้าราคาถูกมักจะใช้วัสดุเป็นพลาสติกและน็อตเกรดต่ำ ซึ่งจะทำให้สายเพี้ยนได้ง่าย แต่ในอูคูเลเล่เกรดระดับกลางขึ้นไปจะใช้วัสดุเกรดสูง ทำให้ไม่มีปัญหาในเรื่องสายเพื้ยนบ่อยๆ

- Geared ลักษณะเหมือนกับตัวลูกบิดตั้งสายของกีตาร์ คือมีเฟืองทด เพื่อทำให้ง่ายต่อการจูนสาย และไม่มีปัญหาเรื่องสายที่เพี้ยนบ่อยๆ คุณภาพก็จะขึ้นอยู่กับวัสดุของส่วนประกอบต่างๆ เช่นพลาสติก นิกเคิล ทองเหลือง ฯลฯ

2. Nut และ Saddle
- พลาสติก มีราคาที่ถูกกว่า แต่การส่งผ่านเสียงจากสาย ไปยังตัวบอดี้ เพื่อกำเนิดเสียงก็จะมีคุณภาพไม่เต็มที่

- กระดูก เป็นวัสดุธรรมชาติ มีคุณสมบัติในการส่งผ่านเสียง ไปยังตัวบอดี้ เพื่อกำเนิดเสียงได้ดีกว่า เพราะกระดูกมีคุณสมบัติที่มีความพรุนในตัว เสียงจึงส่งผ่านได้ดี

รายละเอียดการตกแต่ง
1. การทำสี
- Satin ลักษณะสีด้านๆ ดูเป็นธรรมชาติ
- Gross จะให้สีแบบแวววาบ

2. Binding ต่างๆ
- พลาสติก
- ไม้
- เปลือกหอย (Abalone)
สรูปใจความสำคัญ ต้องดูกันที่คุณภาพเป็นหลักครับ เพราะจะทำให้เราสนุกกับการเล่นอูคูเลเล่กันไปอีกนาน :-)

ว่ากันด้วยเรื่องของขนาด และสไตล์การเล่น

คราวนี้ มาในเรื่องโทนเสียง กับสไตล์ในการเล่นครับ อย่างที่ทราบกันว่า อูคูเลเล่ มีขนาดที่คนนิยมเล่นกันอยู่ 3 ขนาด คือ Soprano, Concert และ Tenor ซึ่ง แต่ล่ะขนาด ก็ให้สุ่มเสียง ที่แตกต่างกันเล็กน้อย ตามขนาดของตัว body คือ

- Soprano เนื่องจากมีขนาดตัวที่เล็ก จึงให้เสียงที่เล็กๆ ใสๆ หวานๆ แบบดั้งเดิมตามฉบับแหล่งกำเนิดของ อูคูเลเล่ คือ ฮาวาย ก็คือเสียงแบบทะเลๆ นั่นเอง และเนื่องจากความเล็ก ก็จึงทำให้ finger board ก็เล็กตามไปด้วย ซึ่งโดยปกติ ก็จะมีจำนวนเฟรต 12 เฟรต แต่ผู้ผลิตบางที่ ก็เริ่มมีการออกแบบให้มี 15 เฟรต เพื่อรองรับ การเล่น ที่หลากหลายขึ้น ดังนั้น อูคูเ้ลเล่ขนาด Soprano แบบดั้งเดิม ที่มี 12 เฟรต จึงเหมาะในการเล่นสไตล์ ตีคอร์ดร้องเพลง และง่ายต่อการพกพาไปเที่ยวในที่ต่างๆ เรียกได้ว่า แค่มี อูคูเลเล่ขนาด Soprano หนึ่งตัว กับ หนังสือเพลงเล่มโปรดซักเล่ม ก็หิ้วไปเล่นได้ทุกที่ ที่ต้องการครับ ส่วนถ้าใครชอบแบบมีโซโล่เพิ่มเติม ก็เลือกหารุ่นที่มีจำนวนเฟรตเพิ่มขึ้น ก็จะรองรับการเล่นได้กว้างขึ้นครับ
- Concert มีขนาดที่ใหญ่กว่า soprano ขึ้นมาอีกนิด จึงให้สุ้มเสียงที่ทุ้มๆ ขึ้นมาอีกหน่อย แต่ก็ยังให้อารมณ์ใสๆ หวานๆ ของ soprano เช่นกัน ขนาดที่ใหญ่ขึ้น ก็จะทำให้ finger board ใหญ่ขึ้นตามไปด้วย และจำนวนเฟรต ก็จะมีเพิ่มขึ้น เป็น 14 ถึง 19 เฟรต แล้วแต่การดีไซน์ ซึ่งก็จะรองรับการเล่นสไตล์ finger picking ได้มากขึ้น

- Tenor มีขนาดใหญ่กว่า Concert ขึ้นมาอีกเช่นกัน ซึ่งถือเป็นรุ่นที่มีขนาดใหญ่สุดในบรรดาอูคูเลเล่ ที่ได้รับความนิยมในการเล่น ด้วยขนาดที่ใหญ่ขึ้น ก็จะมีสุ้มเสียงที่เน้นออกไปทางทุ้มๆ และรองรับการเล่น finger picking ได้เป็นอย่างดี เพราะขนาด finger board ที่ใหญ่ขึ้นตามขนาดตัว ซึ่งนักดนตรีมืออาชีพ จะนิยมเล่นกัน

สรุปกันในเรื่องของไซส์ที่ต้องการ ก็ต้องถามตัวเองว่าเราชอบเล่นแบบไหน และไลฟ์สไตล์ของเราเป็นยังไง ชอบเล่นแบบตีคอร์ดร้องเพลง หรือเล่นแบบนิ้วแพรวพราว ชอบหิ้วไปเล่นที่โน่นที่นี่ หรือว่าต้องหิ้วไปเล่นออกงานบ่อยๆ ฯลฯ ค้นหาสไตล์ตัวเองให้เจอ แล้วเลือกอูคูเลเล่ รุ่นและขนาดที่คุณถูกใจ รับรองว่า มีอูคูเลเล่ที่ไหน มีความสุขที่นั่นครับผม :-)
ถ้าใครอยากเล่นอูคูเลเล่ให้เป็น เรามีวีดีโมาให้ดูครับ
(ต้องของขอบคุณวีดีโอดีดีจาก www.youtube.com ด้วยนะครับ)
ของพี่แอปเปิ้ลนะครับ ^_^









ก็ได้ชมวีดีโอไปแล้วนะครับเอ้า!ลืมไปอย่างคืออะไรรู้มั้ยให้เวลาคิด ติ๊กตอก  ติ๊กตอก  ติ๊กตอก หมดเวลาคือ คอร์ด อูคูเลเล่ไง ก็มาดูกันดีกว่านะครับ





                                


ก็ดูคอร์ดกันไปแล้วนะครับก็ให้เล่นได้อย่างลื่นใหลใคลย้อยกันเลยนะครับ
ถ้ามีข่าวอะไรเกี่ยวกะอูคูเลเล่ก็จะนำมาเล่านำมาแชร์ระกันนะครับบ๊ายบาย












hi พื่อนๆทุกคน


วัีนนี้มีข่าวคราวมาบอก!
อู๊คหราอูคูเลเล่อ่ามีข่าวมาแว้วนะครับ
มาดูกันเร้ย

 ใครจะคิดว่าเครื่องดนตรีสี่สายขนาดจิ๋วที่เกือบต้องปิดตำนานไปตั้งแต่ยุค 60’s เพราะถูกแทนที่ด้วยกีตาร์ จะม้วนตัวกลับมาสร้างกระแส ‘อูคูเลเล่ฟีเวอร์’ ที่แรงขึ้นเรื่อยๆ จนกลายมาเป็นงานเทศกาลอูคูเลเล่ครั้งแรกของเมืองไทย จนกลายมาเป็นงานเทศกาลอูคูเลเล่ครั้งแรกของเมืองไทย โดยมีอดีตไฟแนนซ์หนุ่มทายาทไฮโซ ด่อง-อัษฎา อาทรไผทเป็นโต้โผใหญ่ 12-13 มีนาคมนี้ ที่ศูนย์การค้าสยามพารากอน
      อูคูเลเล่ (Ukulele) ไม่ใช่กีตาร์จิ๋ว แต่เป็นเครื่องดนตรีสี่สายที่มีบรรพบุรุษเป็นเครื่องสายขนานนามว่า “Machete” จากเกาะ Maderia ประเทศโปรตุเกส ก่อนจะแพร่หลายสู่ฮาวายตั้งแต่ปี ค.ศ. 1879 พร้อมกับชื่อที่ชาวพื้นเมืองตั้งว่า “อูคูเลเล่” ซึ่งมีความหมายว่า “หมัดกระโดด” เพราะลักษณะการเล่นที่ดีดนิ้วพลิ้วไปมาเหมือนหมัดที่กำลังกระโดดดึ๋งดั๋งอย่างสนุกสนาน แต่อีกกระแสก็บอกว่าความหมายของอูคูเลเล่หมายถึง “ของขวัญที่ได้มา (จากต่างแดน)”
      ก่อนหน้าที่เจ้าเครื่องสายตัวน้อยสัญชาติฮาวายตัวนี้จะขายดิบขายดี จนกลายเป็นแอคเซสเซอรี่เล่นได้ของคนเทรนดี้ โดยมีร้าน Ribbee Boutique ทำหน้าที่เป็นเทรดเดอร์วัฒนธรรมทางดนตรีรายใหญ่อยู่ที่ดิจิทัลเกตเวย์ สยามสแควร์ คนเล่นอูคูเลเล่ในเมืองไทยยังจำกัดอยู่ในวงเล็กๆ จัดเป็นเครื่องดนตรีที่หายาก เพราะที่หาได้มักจะเป็นรุ่นเริ่มต้นหรือของเล่น เสียงไม่ค่อยดีเพี้ยนตลอด
   “จริงๆ ผมชอบอะไรที่มันฮาวายๆอย่างนี้มาตั้งแต่เด็กๆ แล้ว แต่เล่นไปก็ต้องเบื่อเพราะเสียงไม่ดี ไปๆ มาๆ ความที่ชอบมาเป็น 10 ปีแล้ว แต่หาซื้อยาก ไม่มีใครทำตลาดจริงจังในเมืองไทย เลยเริ่มสั่งเข้ามาแบรนด์หนึ่งก่อน มาลองขายเองที่บ้าน”
   ตอนนั้นอัษฎาเพิ่งจะผันชีวิตจากงานประจำบริษัทไฟแนนซ์ หันมาเปิดช็อป Ribbee Boutique เป็นตู้คอนเทนเนอร์ติดแอร์เย็นฉ่ำ ขายเครื่องดนตรีในสไตล์แหวกแนวที่สนามหน้าบ้าน ย่านสะพานสูง
   ไปๆ มาๆ พอเริ่มมองเห็นโอกาสใหม่ ชายหนุ่มเลยนึกสนุกสั่งนำเข้าอูคูเลเล่มาขายเป็นล่ำเป็นสันที่หน้าบ้าน แรกๆ ใครๆ ก็แซวว่าเพี้ยน จำได้ว่าล็อตแรกสั่งมา 300 ตัวนั่งขายกันอยู่เป็นเดือน ลูกค้าส่วนใหญ่มาเห็นรูปทรงละม้ายคล้ายกีตาร์จิ๋ว นึกว่าเป็นของเล่นเลยซื้อไปตั้งเก๋ๆ เป็นเฟอร์นิเจอร์แต่งบ้านซะงั้น
   ถึงแม้จะเปิดร้านอยู่หน้าบ้าน แต่เพราะมิตรภาพในโซเชียล เน็ตเวิร์ค และการบอกต่อกันปากต่อปาก บวกกับมนต์เสน่ห์ในเสียงหวานๆ ของอูคูเลเล่ที่เริ่มทำหน้าที่ของมัน ไม่ว่าจะเป็น YouTube ที่มีคลิปวีดิโอการเล่นการสอนอูคูเลเล่หลายหมื่นคลิป ทั้งจากมืออาชีพและมือสมัครเล่น โดยเฉพาะคลิปสุดฮิตของเด็กน้อยชาวญี่ปุ่นวัย 5 ขวบที่สร้างแรงบันดาลใจว่าขนาดเด็กยังเล่นได้ หลายคนเลยสนใจจะหามาหัดบ้าง
   ขณะที่การหยิบเอาอูคูเลเล่มาเล่นโดยศิลปินดังๆ อย่าง Jack Johnson Mraz หรือ Zee Avi ก็มีส่วนไม่น้อยที่สร้างกระแสให้อูคูเลเล่กลายเป็นเครื่องดนตรีที่ได้รับความสนใจอีกครั้ง
   ขณะที่ในเมืองไทยต้องบอกว่ากระแสความนิยมอูคูเลเล่เติบโตอย่างรวดเร็ว ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาแม้แต่เจ้าของร้าน Ribbee Boutique อย่างอัษฎาก็ยังรู้สึกเหนือความคาดหมาย แรงผลักดันหนึ่งน่าจะมาจากการจัดกิจกรรมเพื่อคนเล่นอูคูเลเล่อย่างต่อเนื่องทุกเดือน การรวมตัวกันเป็นกลุ่ม UkeClub สร้างชุมชนออนไลน์สำหรับคนเล่นอูคูเลเล่ เข้ามาพูดคุยแลกเปลี่ยนกันผ่านเว็บบอร์ดและเฟซบุ๊ค
   จัดงานแต่ละทีทุกคนในกลุ่มก็จะมาช่วยๆ กันเหมือนลงแขกร่วมกัน บางคนมาช่วยเป็นวิทยากรให้ฟรี กลายเป็นมิตรภาพดีๆ ของคนรักดนตรีด้วยกัน
  แต่ที่เริ่มกระแสแรงเป็นที่รู้จัก คือ การประกวด Ribbee Thailand Ukulee Contest ครั้งแรกในประเทศไทย ที่เป็นเวทีแจ้งเกิดของ“สิงโต นำโชค” เจ้าของแชมป์คนแรกที่กลายมาเป็นศิลปินหน้าใหม่กับสไตล์เพลงแบบ Surf music ที่ใช้อูคูเลเล่มาเป็นพระเอกในการเล่น ร่วมด้วยศิลปินหญิงอย่างลุลา ที่หยิบเอาอูคูเลเล่มาเล่นบนเวที ตามมาด้วยกลุ่มคนเล่นที่เป็นดารา นักแสดง คนดัง จนกลายเป็นเครื่องดนตรีของคนเทรนดี้ เป็นที่รู้จักแพร่หลายผ่านสื่อต่างๆ
  เป็นเครื่องดนตรีที่กลับมาแรงและขายดิบขายดีแค่ไหน เอาเป็นว่าปัจจุบันเมืองไทยครองแชมป์ลูกค้านำเข้าอูคูเลเล่รายใหญ่อันดับ 2 ในเอเชียรองจากญี่ปุ่น  อย่างไรก็ตาม อัษฎา ยอมรับว่า การเติบโตของอูคูเลเล่ในเมืองไทยส่วนหนึ่งมาจากการเล่นตามกระแสซึ่งอาจจะยาวนานไม่เกิน 2-3 ปี ที่สุดแล้วเขาเชื่อว่าวันข้างหน้าอูคูเลเล่จะเติบโตไปได้ด้วย “ดีมานด์แท้” ของกลุ่มคนที่เล่นอย่างจริงๆ จังๆ และเป็นเครื่องดนตรีที่เล่นได้ทุกเพศทุกวัย เล่นได้ทั้งครอบครัว
   ไม่ว่าจะเป็นเด็กเล็กๆ ที่ยังจับกีตาร์ซึ่งมีขนาดใหญ่ไม่ได้ คนหนุ่มสาวที่อยากเอาดีกับดนตรีสไตล์นี้ คนวัยทำงานที่ต้องการผ่อนคลาย หรือแม้แต่คนสูงอายุที่ต้องการฝึกความจำ ป้องกันอัลไซเมอร์
   “ผมว่าอูคูเลเล่มันเป็นเครื่องดนตรีในครอบครัว พ่อแม่ลูกเล่นด้วยกันได้ อย่างผมเล่นให้ลูกฟังตั้งแต่เขาอยู่ในท้อง ตอนนี้ลูกชายผม 4 ขวบแล้วก็กำลังเริ่มๆ หัดเล่นได้แล้ว ตอนนี้ภรรยาผมก็เล่นได้ คุณพ่อผม (พล.ต.ต.อังกูร อาทรไผท) ก็มาเล่นด้วย กำลังเรียนอยู่ และที่ร้านเราก็มีพ่อแม่ลูกที่มาเล่นด้วยกัน”
   “บีคอน” ลูกชายคนแรกยังถือเป็นแรงบันดาลใจที่ทำให้อัษฎาตัดสินใจเปลี่ยนวิถีชีวิต ลาออกจากงานไฟแนนซ์ หันมาทำงานด้านดนตรีที่ชอบและได้ใช้เวลาอยู่กับลูกแบบเต็มตัว
    “ถึงจุดหนึ่งๆ รู้สึกว่าทำงานอย่างนั้นมันอึดอัด พอมีลูกก็เลยคิดว่าอยากใช้ชีวิตแบบสบายๆ ไปอยู่บ้านขายเครื่องดนตรีกับเลี้ยงลูก ผมกับภรรยาเราช่วยกันเลี้ยงลูกเอง ซึ่งเขาก็ออกจากงานมาเหมือนกัน เงินส่วนตัวทั้งหมดที่หามาได้ก็เอามาทำกับธุรกิจนี้ ตอนนี้เลยกลายเป็นว่างานใหม่ยุ่งกว่าเดิม”
   นอกจากเปิดร้านขายและคอร์สสอนเล่นอูคูเลเล่แล้ว ในอนาคตอัษฎายังเตรียมดีลกับปรมาจารย์อูคูเลเล่จากฮาวายมาถ่ายทอดหลักสูตรพร้อมประกาศนียบัตร ความตั้งใจอย่างหนึ่งของเขาคืออยากบุกเบิกวงการอูคูเลเล่ในเมืองไทยอย่างจริงจังในเมืองไทย ล่าสุด กับการจัดงานเทศกาลอูคูเลเล่ครั้งแรกของประเทศไทยและในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่จะรวบรวมศิลปินอูคูเลเล่ทั้งไทยและต่างประเทศมาโชว์ลีลาให้ฟังสดๆ บนเวที อาทิ สิงโต นำโชค , ลุลา กันยารัตน์ ติยะพรไชย, Shigeto Takahashi,Allen Loo,Julia Nunes,Iwao Yamagushi ฯลฯ การประกวดชิงแชมป์อูคูเลเล่,การสอนเล่นอูคูเลเล่ เป็นต้น โดยเปิดให้เข้าร่วมงานฟรีทุกรายการ ที่พาร์ค พารากอน ศูนย์การค้าสยามพารากอน 12-13 มีนาคม 2554 เวลา 15.00-22.00 น.
  “เสน่ห์ของอูคูเลเล่อยู่ที่เสียงของมันที่เล็กๆ ฟังแล้วรีแลกซ์ และเป็นโทนเสียงที่ออกแนวให้อารมณ์ความสุข ได้ยินแล้วนึกถึงทะเล แล้วมันก็เป็นเครื่องดนตรีตัวเล็กๆ ที่เล่นง่าย ใครๆ ก็เล่นได้ ไม่ยาก ไม่เจ็บมือด้วย สายก็น้อย พกพาสะดวก ผมนิยามมันว่าเป็นเครื่องดนตรีที่น่ารักและเท่..
   ถึงวันนี้ ผมถือว่าเหนือความคาดหมาย จากที่เริ่มต้นเพราะความชอบอยากจะเล่นเฉยๆ กลายเป็นว่ามีคนสนใจเยอะมาก แล้วก็เกิดอาชีพให้กับคนอีกหลายคน กลายเป็นอีกหนึ่งธุรกิจสร้างงานสร้างรายได้ขึ้นมา” อัษฎาเล่าพร้อมรอยยิ้ม
                                                      ------------------





เป็นไงบ้างคับเพื่อนๆก้อถ้ามีอะไรสงสัยกันถามเรยนะคร้าฟ
บ๊ายบาย


ดีจร้าทู้กโคล วันนี้มีคอร์ดอูคูเลเล่มาดูกันเลยดีกว่านะ














เปนงายบ้างจ้า 
เยอะป่ะ ก้อขอให้เร่นได้ดีน้าบาย
ว่างๆจาเอาวีดีโอจาก ยูทูป มาห้ายนะ
แอดมาติชมได้ที่
https://www.facebook.com/KONRAGUKULELE
นะบาย